วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมด้านเศรษฐกิจของสหภาพพม่า

วัฒนธรรมด้านเศรษฐกิจของสหภาพพม่า

                ถึงแม้ว่าประเทศไทยและสหภาพพม่าจะมีความใกล้ชิดกันทางภูมิศาสตร์  และมีความสัมพันธ์กันทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองที่ดีต่อกันมาช้านาน  แต่พอวิเคราะห์ถึงปัญหาในการทำการค้ากลับพบว่า มีปัญหาเกิดขึ้นมากมายจากหลาย ๆ สาเหตุ อาทิ ความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมทางด้านเศรษฐกิจของผู้ลงทุนไทย หรือความผันผวนของสภาพพม่าเองในเรื่องกฎหมาย การเมือง รวมถึงความผันผวนของค่าเงินของสหภาพพม่าที่ประกาศโดยรัฐบาลกับค่าเงินในตลาดมืดที่แตกต่างกันอย่างมาก  การศึกษาถึงวัฒนธรรมด้านเศรษฐกิจที่แท้จริงของสหภาพพม่า  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อนักลงทุนไทยที่จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อลดความเสี่ยง
ทางธุรกิจ
ข้อมูลพื้นฐานของสหภาพพม่า
                   ข้อมูลลักษณะภูมิประเทศและการปกครอง
                          ที่ตั้ง                              เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ติดทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล  ทิศเหนือติดต่อกับ
          ทิเบตและแคว้นยูนนานของจีน  ทิศตะวันออกติดต่อกับจีน ลาว และไทย  ทิศ
          ตะวันตกติดต่อกับอินเดียและบังคลาเทศ  ทิศใต้ติดต่อกับไทย
                          พื้นที่                             676,577  ตารางกิโลเมตร  โดยมีพื้นที่มากกว่าประเทศไทย 1/5 เท่า
                          ประชากร    50 ล้านคน
                          เชื้อชาติ        ประมาณ 135 เชื้อชาติเป็นเชื้อชาติพม่าร้อยละ 70 ที่เหลือร้อยละ 30 ได้แก่ ฉาน
          กระเหรี่ยง คะฉิ่น ชิน และยะไข่
                          ภาษา                            ร้อยละ 85 ใช้ภาษาพม่า  ส่วนที่เหลือพูดภาษากระเหรี่ยง มอญ จีนกลาง  ภาษา
          ราชการคือ  ภาษาพม่า และอังกฤษ
                          ศาสนา                   ศาสนาพุทธร้อยละ 90   ศาสนาอิสลามร้อยละ 4  ศาสนาฮินดูร้อยละ 4  และศาสนาคริสต์ร้อยละ 2
                          สกุลเงิน       จ๊าด  (kyat)
                          เมืองสำคัญ  เมืองย่างกุ้ง  :  เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าที่จะกระจายสินค้าไปสู่ภาคต่าง ๆ ของ
          ประเทศ โดยมีแม่น้ำย่างกุ้งเป็นน้ำสำคัญในการขนถ่ายสินค้า
เมืองมัณฑะเลย์  :  เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าในประเทศทางตอนบน
                                                                                                                                                                                                                                                   


ด่านเมียวดี  :  เป็นเมืองค้าขายสินค้าชายแดนกับประเทศไทย  ตรงข้ามอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ด่านท่าขี้เหล็ก  :  เป็นเมืองค้าขายสินค้าชายแดนกับประเทศไทย ตรงข้ามอำเภอ
แม่สาย จังหวัดเชียงราย
ด่านเกาะสอง  :  เป็นเมืองค้าขายสินค้าชายแดนกับประเทศไทย ตรงข้ามจังหวัด
ระนอง
เมืองมูเซ  :  เป็นเมืองค้าขายสินค้าชายแดนกับประเทศจีน ตรงข้ามเมืองลุยสีของประเทศจีน
                          ระบอบการปกครอง    เผด็จการทหารโดยมีสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State
                                                                                peace and Development Council : SPDC) เป็นองค์กรปกครองสูงสุด
                          เขตการปกครอง                         แบ่งเป็นการปกครองเป็น 7 รัฐ (State : เขตของชนกลุ่มน้อย) และ 7
                                                                                ภาค (Division : เขตของชนเชื้อสายพม่า)
                          วันชาติ                                         4  มกราคม   ของทุกปี นับจากวันที่ได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2491
                          ทรัพยากรธรรมชาติ  ป่าไม้ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สัตว์น้ำ อัญมณี สินแร่
                          เส้นทางคมนาคมทางบก      เส้นทางการค้าระหว่างแม่สอด-เมียวดี-ท่าเรือชายฝั่งเมาะละแหม่ง  ระยะทาง 150 กิโลเมตรและเส้นทางต่อไปยังกรุงย่างกุ้ง ระยะทาง 310 กิโลเมตร
   เส้นทางจากรุงย่างกุ้งต่อไปยังบังคลาเทศ อินเดีย  และต่อขึ้นเหนือไปเมืองมัณฑะเลย์-ลาเจียง-คุนหมิง (จีนตอนใต้)
      เส้นทางจากเชียงราย-เชียงตุง (พม่า)-เชียงรุ้ง (จีนตอนใต้)-คุนหมิง
เส้นทางเมียวดี (พม่า)-แม่สอด-ตาก-สุโขทัย-พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร-สุวรรณเขต (ลาว)-ดงฮา-ดานัง (เวียดนาม)
                          เส้นทางคมนาคมทางอากาศ  ย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์-คุนหมิง-ฮานอย
                                                                                   ย่างกุ้ง-เวียงจันทร์-โฮจิมินห์
                                                                                   ย่างกุ้ง-กรุงเทพฯ-พนมเปญ
                                                                                   ย่างกุ้ง-บังคลาเทศ
                                                                                   ย่างกุ้ง-อินเดีย
                          การคมนาคมทางน้ำที่สำคัญ  ท่าเรือย่างกุ้ง (Yangon)  สามารถรับเรือที่มีระวางตั้งแต่ 15,000 ตัน
                                                                                   ขึ้นไป
                                                                                   ท่าเรือเมาะละแหม่ง (Moulmein)  มีระยะห่างจากแม่สอดของไทย 170
        กิโลเมตร  แต่ท่าเรือนี้ไม่สามารถรอบรับเรือเดินสมุทรได้
                                                                                  ท่าเรือแมเฮิรสท์ (Amhurst) หรือไจกะมี (Kyaikami)  เป็นท่าเรือเก่าสร้าง
        สมัยอังกฤษปกครองพม่า  ท่าเรือนี้ติดต่อกับไทยทางฝั่งด่านเจดีย์สาม  
        องค์ จังหวัดกาญจนบุรี
        ท่าเรือจ๊อกพยิว (Kyarkpyu)  เป็นท่าเรือที่ใช้ทำการค้าระหว่างจีนกับ
        พม่า และพม่าใช้ท่าเรือนี้เชื่มต่อไปสู่มหาสมุทรอินเดียและยุโรป
  ท่าเรือทีละวา (Thilawa)  เป็นท่าเรือที่อยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรมย่างกุ้ง  
  มีความลึกขนาด 10,000 ตัน  อยู่ป่างจากอำเภอแม่สอดของไทยเป็น
  ระยะทาง 508 กิโลเมตร  ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ข้อมูลเศรษฐกิจ
                   1.  โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
                         จากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยทหารสลอร์ก  รัฐบาลทหารสลอร์กได้นำประเทศพม่าไปสู่ระบบเศรษฐกิจเสรี  และแม้ต่อมาได้จัดตั้งสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) ก็ยังคงยึดนโยบายเช่นเดิม  อนุญาตให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิต และการจัดการ  รวมทั้งได้เปิดประเทศให้มีการค้า และการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น  แต่มีอัตราการขยายตัวไม่แน่นอน เพราะเศรษฐกิจของพม่าต้องพึ่งพาสินค้าเกษตรเพียงไม่กี่ชนิด ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับสภาพดิน ฟ้า อากาศ เป็นสำคัญ นอกจากนี้ พม่ายังประสบปัญหาด้านมหภาค เช่น เงินเฟ้อ ความแตกต่างกันอย่างมากของอัตราแลกเปลี่ยนในระบบและนอกระบบ  การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การขาดดุลงบประมาณของรัฐ การขาดแคลนไฟฟ้าและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีอัตราความผันผวนขยายตัวขึ้นลงในแต่ละปีสูงมาก
                   2.  เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (2548)  โดยการประมาณ
                          ผลิตภัณฑ์มวลรวม  (GDP)                                                                     7  พันล้านเหรียญสหรัฐ
                          ผลิตภัณฑ์มวลรวม  (GDP) ต่อหัว                                                         94  เหรียญสหรัฐฯ
                          อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth)                          5.0%
                          อัตราเงินเฟ้อ  (CPI)                                                                 50%
                          จำนวนคน / โทรศัพท์                                                                              200  คน
                          อัตราแลกเปลี่ยน (ทางการ)                                                                     1USD = 6.5 Kyats
                          อัตราแลกเปลี่ยน (ไม่เป็นทางการ)                                                        1 USD = 1,130 Kyats
                          มูลค่าการส่งออก                                                                                        5  พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
                          สินค้าส่งออกสำคัญ   สินค้าเกษตร ถั่วต่าง ๆ ก๊าซธรรมชาติ ไม้และผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์
                                                                                สัตว์น้ำ อัญมณี แร่ต่าง ๆ
                          แหล่งส่งออกสำคัญ   ไทย (25%)  อินเดีย (14%)  สหรัฐฯ (7%)   สิงคโปร์ (6%) 
                                                                                มาเลเซีย   (6%)   ญี่ปุ่น (5%)  
                          มูลค่าการนำเข้า                          3  พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
                          สินค้านำเข้าสำคัญ     เชื้อเพลิง ชิ้นส่วนอะไหล่ เครื่องจักรกล อุปกรณ์ก่อสร้าง โลหะ น้ำมัน
                                                                                จากพืชและสัตว์
                          แหล่งนำเข้าสำคัญ     สิงคโปร์ (30%) ญี่ปุ่น (27%)  เกาหลีใต้ (14%)  มาเลเซีย (13%)
                                                                                จีน (12%) ไทย (4%) 
                          การลงทุนจากต่างประเทศ       สิงคโปร์  อังกฤษและไทย ตามลำดับ
                   3.  ระบบการเงินการธนาคาร
                         ในปัจจุบันระบบการธนาคารของพม่า ประกอบด้วย  ธนาคารกลาง ธนาคารเฉพาะด้านของรัฐ จำนวน 4 แห่ง  ธนาคารพาณิชย์เอกชนของพม่าประมาณ 8 แห่ง  และสำนักงานตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ต่างชาติประมาณ 11 แห่ง  ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงาน  ดังนี้
                          3.1  ธนาคารกลาง  (The Central Bank of Myanmar)  ทำหน้าที่ควบคุมสถาบันการเงินทั้งหมด กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก อัตราส่วนของสินทรัพย์และหนี้สิน  อัตราแลกเปลี่ยนและออกธนบัตร
                          3.2  ธนาคารเฉพาะด้านของรัฐ  ได้แก่
                                - The Myanmar Economic Bank  ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านสินเชื้อแก่รัฐ  และเอกชนในพม่าพร้อมทั้งบริการรับฝากผ่านสาขา 259 แห่งทั่วประเทศ  โดยมี  Myanmar Small Loans Enterprise ซึ่งเป็น สาขาของ Myanmar Economic Bank ดูแลสถานธนานุเคราะห์
                                - The Myanmar Foreign Trade Bank ทำหน้าที่ให้บริการด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและธุรกิจการธนาคารระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกของพม่า ธนาคารนี้ไม่รับฝากสะสมทรัพย์     มีแต่บัญชีเดินสะพัด  และให้กู้เป็นเงินตราต่างประเทศ  ภายใต้การอนุมัติของรัฐในรูปตั๋วสัญญาใช้เงิน
                                -The Myanmar Agriculture and Rural Development Bank  ทำหน้าที่ให้บริการด้านการเงินแก่ภาคเกษตรกรรมภายในประเทศ เช่น การให้เงินกู้แก่เกษตรกร  โดยผ่านธนาคารในท้องถิ่น (Village Bank) ให้เงินกู้สหกรณ์และธุรกิจที่ประกอบกิจการทางด้านการเกษตร และปศุสัตว์
                                - The Myanmar Investment and Commercial Bank  ทำหน้าที่ให้บริการด้านสินเชื่อแก่หน่วยธุรกิจที่ลงทุนในพม่า รับฝากเงินระยะสั้น และระยะยาว  โดยให้ดอกเบี้ยตอบแทนการจัดหาเงินกู้เพื่ออสังหาริมทรัพย์และการลงทุน
                          3.3  ธนาคารพาณิชย์เอกชน
                                ธนาคารพาณิชย์เอกชนของพม่าได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจเฉพาะภายในประเทศ  (Domestic
Business) เท่านั้น ไม่สามารถทำธุรกิจด้านต่างประเทศได้ (Foreign Transaction)  ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์เอกชนของพม่ามี 8 แห่ง  ได้แก่
                                - The Myanmar Citizen Bank  เป็นธนาคารเอชนรายแรก  เป็นการร่วมลงทุนระหว่างบริษัท Joint Venture Corporation Limited และรัฐบาลพม่า
                                -  The Yangon City Bank
                               -  The First Private Bank
                                -  The Myawaddy Bank                                                  
                                -  The Co-operative Bank
                                -  The Yoma Bank
                                -  The Yadanarbon Bank
                                -  The East Oriented Bank
                          3.4  ธนาคารต่างประเทศ  (สำนักงานตัวแทน)
                                ภายใต้กฎหมายธนาคารกลางของพม่าที่เรียกว่า Central Bank of Myanmar Law and the Financial Institutions of Myanmar Law  กำหนดให้ธนาคารต่างประเทศได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นสำนักงานตัวแทน
(Representative Office)  ได้เท่านั้นและดำเนินธุรกิจได้เพียงการเป็นสำนักงานติดต่อประสานงาน (Liaison)  ในปัจจุบันสำนักงานผู้แทนของธนาคารต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสำนักงานและดำเนินการแล้ว  มีธนาคารพาณิชย์ของไทย 6 ธนาคาร และอีก 5 แห่งเป็นธนาคารของประเทศสิงคโปร์ และประเทศอื่น ๆ ดังนี้
                                -  ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
                                -  ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
                                -  ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
                                -  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
                                -  ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
                                -  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
                                -  The Banque Indosuez
                                -  The Development Bank of Singapore
                                -  The United Overseas Bank Singapore
                                -  The Overseas Chinese Bank Corporation
                                -  The Kepple Bank of Singapore


กฎระเบียบทางการค้า
                   รัฐบาลพม่าได้กำหนดมาตรการและกฎระเบียบของการนำเข้า-ส่งออก ดังนี้
                   1.  ขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออก
                          1.1  ผู้ที่จะทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าจะต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า  และส่งออกที่สำนักงานทะเบียนนำเข้า-ส่งออก (Export-Import-Registration-Office)  กรมการค้ากระทรวงพาณิชย์ โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน 5,000 จ๊าด  สำหรับระยะเวลา 1 ปี และ 10,000 จ๊าด สำหรับระยะเวลา 3 ปี
                          1.2  คุณสมบัติของผู้ที่จะสามารถยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าส่งออก  มีดังนี้
                                -  บุคคลธรรมดาทั้งหลายที่มีสัญชาติพม่า หรือที่แปลงสัญชาติเป็นพม่า (Naturallsed Citizenship)
                                -  ห้างหุ้นส่วน บริษัททั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นในพม่า
                                -  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  บริษัทร่วมทุน  ทั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายการลงทุนต่างประเทศของพม่า
                                -  สหกรณ์ทั้งหลายที่สดทะเบียนภายใต้กฎหมายสหกรณ์ของพม่า ปี 2533
                          1.3  สิทธิของผู้จดทะเบียนนำเข้าส่งออก
                                -  สามารถส่งออกสินค้าทุกชนิดยกเว้น ไม้สัก น้ำมันปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ ไข่มุก หยก  อัญมณี  แร่ธรรมชาติ  และสินค้าอื่น ๆ  ที่ระบุว่าสามารถดำเนินการได้โดยหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ แต่เพียงผู้เดียว
                                -    สามารถนำเข้าสินค้าทุกชนิดตามเงื่อนไขของกฎและระเบียบ ที่ระบุไว้ ยกเว้นสินค้าที่เป็นสินค้าห้ามนำเข้า
                                -  สามารถจำหน่ายสินค้าในตลาดภายในประเทศได้
                                -  สามารถยื่นขอหนังสือเดินทางประเภทธุรกิจไปต่างประเทศไทย
                                -  สามารถที่จะรับรองแขกต่างประเทศ  เพื่อการเจรจาธุรกิจได้
                   2.  การส่งออกและนำเข้าสินค้า และค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
                          2.1  การส่งสินค้าออก
                                -  ผู้ส่งออกที่จดทะเบียนก่อนที่จะส่งสินค้าออก จะต้องได้รับใบอนุญาตส่งออกจากกระทรวงพาณิชย์มีระยะเวลา 6 เดือน
                                -  ผู้ซื้อในต่างประเทศจะต้องเปิด L/C ที่ Myanmar-Investment-and-Commercial-Bank-(MICB) หรือ Myanmar -Foreign-Trade-Bank (MFTB)  ผ่านทางธนาคารในต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับและจะต้องแจ้งต่อเรือที่จะขนสินค้าด้วย
                                -  ในกรณีที่จะต้องตรวจสินค้าก่อนขนส่งThe-Inspection-and-Agency-Service-Department จะดำเนินการตรวจสอบเกี่ยวกับคุณลักษณะ น้ำหนัก คุณภาพ และการบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่จะขนส่งทางเรือ
                                -  เอกสารเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางเรือ  เช่น Shipping-Bills-Freight-Bill เป็นต้น  จะต้องยื่นต่อธนาคารที่ได้เปิด L/C
                          2.2  การนำเข้าสินค้า
                                -  ผู้นำเข้าจะต้องเปิดบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศที่  Myanmar-Investment-and-
Commercial -Bank (MICB) หรือ Myanmar-Foreign-Trade-Bank (MFTB) เพื่อยื่นใบอนุญาตนำเข้าสินค้าจากกระทรวงพาณิชย์
                                -  แบบสัญญาขาย (Sale Contact) และ Proforma Invoice ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้า บรรจุภัณฑ์ และระยะเวลาการส่งมอบ
                                -  ในกรณีที่ซื้อเป็นราคา FOB ผู้นำเข้าจะต้องทำการประกันภัยสินค้ากับ Myanmar Insurance Company และใช้บริษัท Myanmar Five Star Line เป็นผู้ขนส่งสินค้าเท่านั้น
                                -  ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการนำเข้าภายใน 21 วัน นับจากวันตามที่ระบุไว้ในอนุญาตนำเข้า
                   3.  สินค้านำเข้าที่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการนำเข้า
                          3.1  สินค้านำเข้าโดยองค์การที่ดำเนินธุรกิจในพม่าภายใต้กฎหมายการลงทุนต่างประเทศของพม่า มีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อธุรกิจ  ได้แก่
                                -  เครื่องจักร เครื่องมือ ส่วนประกอบของเครื่องจักร ชิ้นส่วนอะไหล่ และวัสดุที่ใช้ทางธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้สำหรับการก่อสร้าง  โดยนำเข้ามาในฐานะทุนของต่างประเทศที่ระบุ  โดยคณะกรรมการลงทุนพม่า (Myanmar Investment Commision หรือ MIC)
                                -  วัตถุดิบและวัสดุที่ใช้สำหรับการบรรจุภัณฑ์  (สำหรับช่วง 3 ปีแรกเท่านั้น)  ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์สำหรับใช้ร่วมในการ ก่อสร้างเพื่อการผลิตและส่งออกให้สมบูรณ์
                          3.2  สินค้าที่นำเข้าโดยหน่วยงานของรัฐ
                                -  สินค้าที่นำเข้าเพื่อวัตถุประสงค์ใช้ในราชการ
                                -  สินค้าทุนที่นำเข้าภายใต้โครงการลงทุนประจำปี
                          3.3  รถยนต์ใหม่ที่ใช้เพื่อธุรกิจที่นำเข้าโดยระบบขายฝาก และขายในประเทศเป็นเงินสกุลเหรียญ
สหรัฐฯ โดยผ่านหน่วยงาน Vehicle, Machinery and Equipment Trading Inspection and Agency Services Co.Ltd Myanmar Motor Limited ให้กับหน่วยงานที่ดำเนินธุรกิจภายใต้การส่งเสริมการลงทุน นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่นำเข้าโดยบริษัทน้ำมันที่ดำเนินธุรกิจภายใต้ข้อตกลงร่วมกับ Myanmar Oil and Enterprise และสินค้าที่นำเข้าโดยคณะทูตานุทูต
                          3.4  ผลิตภัณฑ์ยาและวัตถุดินที่ใช้ในกรผลิตยาที่นำเข้าโดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของรัฐ  หรือภาค
เอกชนที่จดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าส่งออก  เพื่อใช้ในการสนับสนุน และปรับปรุงการสาธารณสุขหรือสวัสดิการของประชาชนที่รับการรักษาทางการแพทย์
                          3.5  ปุ๋ย เครื่องมือการเกษตร  เครื่องจักรการเกษตรและยาฆ่าแมลง ที่ใช้เพื่อการพัฒนาภาคการเกษตร ที่นำเข้าโดยหน่วยงานวิสาหกิจของรัฐ หรือภาคเอกชนที่จะทะเบียนเป็นผู้นำเข้าส่งออก
                          3.6  สินค้าผ่านแดนการนำเข้าสินค้าไปสู่ประเทศที่ 3 โดยใช้พม่าเป็นตัวกลางผ่านสินค้า ผู้ส่งออกจะเสียค่าคอมมิชชั่นร้อยละ 5 ให้ผู้นำเข้าพม่า เสียร้อยละ 2.5 บวกเพิ่มร้อยละ 5 ให้กรมศุลกากรพม่า สินค้าผ่านแดนส่วนใหญ่ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์
                   4.  สินค้าที่อนุญาตให้นำเข้า
                          กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดรายการสินค้านำเข้า  โดยจำแนกออกเป็น
                          4.1  รายการสินค้าที่จำเป็น (Priority Items)  ได้แก่  เครื่องจักรและอะไหล่วัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยากำจัด วัชพืช เมล็ดพันธุ์สำหรับการเกษตร (Agricultural Inputs) อาหารปรุงแต่ง วัสดุก่อสร้าง ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ผลิตภัณฑ์ยาและอุปกรณ์ผลิตยา เครื่องจักรและวัสดุด้านการประมง วัสดุสำหรับเพาะเลี้ยงปศุสัตว์ เครื่องมือการไฟฟ้า เครื่องมือการคมนาคม เครื่องเขียน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
                          4.2  รายการสินค้าฟุ่มเฟือย  (Optional Items)  ได้แก่  อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ ของใช้ส่วนบุคคล  ของในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า ยาพาหนะ และสินค้าเบ็ดเตล็ด
                   5.  เงือนไขการนำเข้าสินค้าในรายการสินค้าจำเป็นและรายการสินค้าฟุ่มเฟือย
                          5.1  การนำเข้ารายการสินค้าฟุ่มเฟือย อนุญาตให้นำเข้าโดยวิธีนำเข้าจากเงินได้ที่ส่งออก นำเข้าตามระบบนำเข้าก่อนส่งออกหลัง  และนำเข้าตามระบบฝากขาย  โดยมีเงื่อนไขดังนี้
                                -  มูลค่าสูงสุดที่อนุญาตให้นำเข้า ครั้งละไม่เกิน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ
                                -  สินค้าจำเป็นจะต้องนำเข้าก่อนภายในระยะเวลา 6 เดือน  นับจากวันที่กำหนดในใบอนุญาตนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย
                                -  หากไม่มีการนำเข้ารายการสินค้าจำเป็น  ภายหลังจากที่มีการนำเข้ารายสินค้าฟุ่มเฟือยแล้ว  จะไม่มีการพิจารณาอนุญาตให้นำเข้ารายการสินค้าฟุ่มเฟือยครั้งใหม่
                                -  หากนำเข้าโดยระบบนำเข้าก่อนส่งออกหลัง  และระบบขายฝากจะอนุญาตให้มีการส่งออกได้ก็ต่อเมื่อมีการนำเข้ารายการสินค้าฟุ่มเฟือยก่อนแล้ว
                                -  หากไม่สามารถนำเข้ารายการสินค้าจำเป็น หรือมีการกระทำการใด ๆ เพื่อฉ้อโกงหรือหลอกลวงเกี่ยวกับเรื่องนี้  จะมีการพิจารณาถึงขั้นยกเลิกใบจดทะเบียนผู้นำเข้าส่งออก
                          5.2  การนำเข้ารายการสินค้าฟุ่มเฟือย  อนุญาตให้นำเข้าโดยเงินที่ได้จากการส่งออกการนำเข้าตามระบบนำเข้าก่อนส่งออกหลังการนำเข้าตามระบบขายฝาก  โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
                                -  มูลค่าการนำเข้าจริงของสินค้าในรายการสินค้าจำเป็นจะต้องเท่ากับจำนวนที่กำหนดไว้สำหรับการนำเข้าสินค้าในรายการนี้
                                -  จะต้องมีการนำเข้าจริงของสินค้าในรายการสินค้าจำเป็น  จะต้องเท่ากับจำนวนที่กำหนดไว้สำหรับการนำเข้าสินค้าในรายการนี้
                                -  การนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย จะมีมูลค่าเท่ากับมูลค่าการนำเข้าสินค้าจำเป็นที่นำเข้าจริง จะใช้พิจารณาสำหรับอนุญาตการนำเข้า  โดยเงินที่ได้จากากรส่งออกในโอกาสต่อไป
                                -  ถ้าการนำเข้าสินค้าจำเป็นโดยเงินที่ได้จากการส่งออกสะสมกันจากใบอนุญาตส่งออก 3-4 ใบ  และมีมูลค่าเท่ากับที่กำหนดไว้แล้ว  จึงจะพิจารณาอนุญาตการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย
                                -  ในกรณีของสินค้าอื่นที่ได้ได้ระบุไว้ในรายการทั้งสองนี้  หากมีการนำเข้าสินค้าจำเป็นตามวิธีดังกล่าวข้างต้น  ในจำนวนมูลค่า 3 เท่าของจำนวนนำเข้า
                   6.  การจัดตั้งบริษัทในพม่า
                          6.1  การดำเนินธุรกิจตัวแทน
                          บริษัทต่างชาติสามารถแต่งตั้งบุคคล หรือผู้ประกอบการเป็นตัวแทนธุรกิจในพม่าได้โดยตัวแทนจะต้องจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ของพม่า
                          6.2  การตั้งบริษัทหรือสำนักงานสาขา
                          บริษัทต่างชาติหรือสำนักงานสาขาที่ตั้งในพม่าจะต้องขออนุญาตทำการค้า (Permit to Trade)  จาก
กระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติก่อนจดทะเบียนบริษัทกับสำนักงานจดทะเบียน
รายชื่อสินค้าควบคุมนำเข้า-ส่งออก
                   1.  ประกาศชนิดสินค้าที่ห้ามนำเข้าทางด้านชายแดนและทางทะเล  ดังนี้
                   ผงชูรส, น้ำหวาน/เครื่องดื่ม (Soft drink), ขนมปังกรอบทุกชนิด (Biscuits), หมากฝรั่ง, ขนมเค้ก, ขนมเวเฟอร์, ช็อกโกแลต, อาหารกระป๋อง (เนื้อสัตว์และผลไม้), เส้นหมี่ทุกชนิด, เหล้า, เบียร์, บุหรี่, ผลไม้ทุกชนิด, ผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับใช้ในครัวเรือนและใช้ส่วนตัวทุกชนิดและสินค้าต้องห้ามอื่น ๆ ที่มีกฎหมายปัจจุบันห้ามนำเข้า
                   2.  รายการสินค้าห้ามส่งออกในรูปการค้าปกติผ่านทางชายแดนและทางทะเล  ดังนี้
                   ข้าว ปลายข้าว รำ, น้ำตาลทรายขาว, น้ำตาลทรายแดง, น้ำตาลดิบ, ถั่วลิสง, น้ำมันถั่วลิสง, งา, น้ำมันงา, เมล็ด Niger และน้ำมัน, เมล็ดมัสตาด และน้ำมัน, กากพืชน้ำมันทุกชนิด, ฝ้ายและผลิตภัณฑ์ฝ้าย (ฝ้าย เส้นใย), น้ำมันปิโตรเลี่ยม, อัญมณี, ทองคำ, หยก, ไข่มุก, เพชร, ตะกั่ว, ดีบุก, ทังสเตน, เงิน, วูลแฟรม, ทองแดง, สังกะสี, ถ่านหิน, โลหะอื่น ๆ , งาช้าง, วัว, ควาย, ช้าง, ม้า, สัตว์หายาก, หนังสัตว์, เปลือกกุ้งป่น, อาวุธและเครื่องกระสุน,
วัตถุโบราณ, ยางพารา, ไม้สัก
มาตรการด้านภาษี
                   1  ภาษีการค้า
                          -  ธุรกิจประเภทผลิตสินค้าเพื่อขาย จัดเก็บในอัตรา 5-20% ของรายได้
                          -  ธุรกิจบริการ เฉพาะธุรกิจขนส่งทางน้ำ ทางอากาศ รถยนต์ รถไฟ ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจการต้า จัดเก็บในอัตรา 8-30 %
                          -  ธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร  จัดเก็บในอัตรา 10 % ของรายได้
                   2.  ภาษีน้ำเข้า
                          สินค้าที่สำคัญที่จัดเก็บมีดังนี้
                          -  สิ่งทอจัดเก็บในอัตรา 5-300 % ของมูลค่านำเข้า
                          -  เครื่องจักรและอุปกรณ์  จัดเก็บในอัตรา 15-200% ของมูลค่านำเข้า
                          -  อุปกรณ์ในการขนส่ง  จัดเก็บในอัตรา 5-300%  ของมูลค่าน้ำเข้า
                          -  สินค้าอุปโภคบริโภค  จัดเก็บในอัตรา 50-200%  ของมูลค่านำเข้า
                   3.  ภาษีส่งออก
                          มี 5 ประเภท คือ
                          -  แป้ง แป้งข้าวจ้าว  จัดเก็บในอัตรา 10 จ๊าดต่อเมตริกตัน
                          -  รำข้าว จัดเก็บในอัตรา 10 จ๊าดต่อเมตริกตัน
                          -  กากน้ำมันพืช  จัดเก็บในอัตรา 5% ของมูลค่าส่งออก
                          -  ธัญพืช  จัดเก็บในอัตรา 5% ของมูลค่าส่งออก
                          -  ไม้ไผ่ หนังสัตว์ จัดเก็บในอัตรา 5% และ 10% ของมูลค่าส่งออก
                   4.  บุคคลธรรมดา
                          ชาวต่างชาติจะเสียภาษี 35% ของรายได้
                   5.  นิติบุคคล
                          1.  หากเป็นบริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายพม่า เสียภาษีในอัตรา 30%
                          2.  สำนักงานสาขาของบริษัทต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในพม่า เสีย 30% หรือ 3-50% ของรายได้  ทั้งนี้ทางรัฐบาลจะพิจารณาว่าจัดเก็บในอัตราใดที่ได้จำนวนสูงกว่า
                   6.  ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
                          ชาวต่างชาติที่ทำธุรกิจในพม่า จะเสียภาษีดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ที่พำนักในพม่ากับผู้ที่มิได้พำนักในพม่า  โดยจะเสียในอัตราดังนี้
                          -  ภาษีดอกเบี้ยผู้พำนักเสีย 15% ไม่พำนักเสีย 20%
                          -  ภาษีจากการได้รับใบอนุญาตต่าง ๆ ผู้พำนักเสีย 15%  ผู้ไม่พำนักเสีย 20%
                          -  ค่าธรรมเนียมการทำสัญญากับรัฐบาล  ผู้พำนักเสีย 4% ผู้ไม่พำนักเสีย 3.5%
                          -  กรณีที่เงินปันผล กำไรของกิจการสาขาและส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับการหักภาษีแล้ว ไม่ต้องชำระ
ภาษี ณ ที่จ่ายอีก

การวิเคราะห์การลงทุนในสหภาพพม่า
การลงทุนในสหภาพพม่า
                   1.  นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนในพม่าได้ทั้งในรูปแบบต่างชาติเป็นเจ้าของ 100% (100% foreign owned) หรือในรูปของการร่วมลงทุน  (joint venture)  กับนักลงทุนท้องถิ่น  โดยนักลงทุนต่างชาติจะต้อง  ร่วมทุนอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 35 ของ equity capital ทั้งหมด
                   2.  นักลงทุนต่างชาติจะต้องลงทุนอย่างน้อย 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรม (manufacturing) และ  300,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับธุรกิจบริการ (services)
                   3.  ภายใต้กฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Investment Law) ของพม่า  ซึ่งอยู่ในการควบคุมและดูแลของคณะกรรมาธิการการลงทุนของพม่า (Myanmar Investment Commission – MIC) ซึ่งนักลงทุนสามารถได้รับสิทธิต่าง ๆ ดังนี้
                          -  ได้รับการยกเว้นภาษี (tex holiday)  เป็นเวลา 3 ปี และสามารถขอขยายเวลาต่อได้
                          -  ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับผลกำไรที่นำกลับมาลงทุน เป็นระยะเวลา 1 ปี
                          -  ให้คำนวณอัตราค่าเสื่อมสภาพ (accelerated depreciation rates) ได้ตามที่ได้รับการอนุมัติจาก MIC
                          -  ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 50 จากรายได้ที่ได้จากการส่งออก
                          -  สามารถชำระภาษีเงินได้ในนาม (on behalf) ของผู้เชี่ยวชาญและช่างเทคนิค ชาวต่างชาติที่บริษัทจ้าง โดยสามารถนำรายจ่ายในส่วนนั้นมาหักออกจากรายได้พึง  ประเมินภาษีเงินได้
                          -  ชำระภาษีเงินได้สำหรับลูกจ้างชาวต่างชาติได้ในอัตราเดียวกับประชาชนพม่า
                          -  สามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนของการวิจัยและพัฒนามาหักออกจากรายได้พึงประเมิน ภาษีเงินได้ได้
                          -  สามารถยกยอดผลประกอบการที่ขาดทุนไปรวมกับผลประกอบการของปีต่อ ๆ ไปได้เป็นระยะเวลา 3 ปีติดต่อกัน หากผลประกอบการรวมยังขาดทุนอยู่
                          -  ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรและ/ หรือภาษีในประเทศอื่น ๆ สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตในระยะ ปีแรกหลังจากเริ่มดำเนินกิจการ
                   4.  ธุรกิจต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจในพม่าภายใต้กฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศจะไม่ถูกยึดกิจการมาเป็นของพม่า (shall not be nationalized)  ทั้งนี้ พม่าอนุญาตให้จัดส่งเงินทุน (capital)  และผลกำไรสุทธิ (net profit)  กลับไปยังประเทศแม่ได้
                   5.  นักลงทุนต่างชาติสามารถเช่าพื้นที่ดำเนินการระยะยาว (long term lease)  ได้จาก รัฐบาลพม่า โดย
ค่าเช่าพื้นที่ในพื้นที่อุตสาหกรรม (industrial zone) ของรัฐบาล  อยู่ในอัตรา 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางเมตรต่อปี

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมระดับมหภาคในสหภาพพม่า
นโยบายเศรษฐกิจของสหภาพพม่า
                   1.  ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร  โดยการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก (ไม่ใช่การเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่) ทำให้ผลผลิตและการส่งออกของพืชเศรษฐกิจบางชนิด เช่น ข้าว ธัญพืช ฝ้าย อ้อย งา ถั่ว  และดอกทานตะวันเพิ่มขึ้น  อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าว ยังไม่สามารถดำเนินการได้ผลเต็มที่  เนื่องจากรัฐบาลพม่าควบคุมราคาพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ข้าว  และอ้อย
                   2.  ส่งเสริมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า เช่น น้ำมัน (edible oil) และกระดาษ เพื่อลดการขาดดุลการค้าและรักษาปริมาณเงินทุนสำรองต่างประเทศ
                   3.  ขยายภาคอุตสาหกรรมการผลิตให้หลากหลาย  โดยรัฐบาลพม่าให้การส่งเสริมรัฐวิสาหกิจของพม่าในการผลิต เครื่องจักร ยานพาหนะและอุปกรณ์ โทรทัศน์ อุปกรณ์สื่อสาร สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำตาล ยาง ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากไม้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลพม่าไม่ได้ให้การสนับสนุนในด้านนี้ต่อภาคเอกชน หรือนักลงทุนต่างชาติ
                   4.  นอกจากนี้ รัฐบาลพม่าได้ออกมาตรการกีดกันทางการค้าอีกหลายประการ เพื่อลดการขาดดุลการค้าและรักษาปริมาณเงินทุนสำรองต่างประเทศ ดังนี้ ห้ามนำเข้าสินค้า 15 รายการ ทางชายแดน (14 รายการทางทะเล) ผู้นำเข้าต้องมีรายได้จากการส่งออก การนำเข้าสินค้าจำเป็นต่อสินค้าฟุ่มเฟือยต้องอยู่ในสัดส่วน 80:20 ห้ามบริษัทต่างชาติที่เป็น trading company นำเข้าและส่งออกสินค้า ไม่ต่อใบอนุญาตประกอบการให้บริษัทต่างชาติ และการน้ำเข้า-ส่งออกต้องกระทำธุรกรรมผ่านธนาคารเท่านั้น
                   5.  สภาพเศรษฐกิจของพม่าตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง  ไม่มีการลงทุนใหม่ที่สำคัญจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกันมีการย้ายธุรกิจและการลงทุนของต่างชาติไปประเทศอื่น  การส่งออกสินค้าเกษตรลดลง กอปรกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปพม่ามีจำนวนลดลงและน้อยกว่าที่ทางการพม่าได้ตั้งเป้าไว้มาก  ทำให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศลดลง ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น ค่าเงินจ๊าตตกต่ำ  นอกจากนี้ในภาคการเกษตรเริ่มมีสัญญาณความไม่พอใจของเกษตรกรต่อนโยบายที่ไม่เป็นธรรมและกดขี่ของรัฐบาล อาทิ การบังคับซื้อข้าวในราคาถูก การเก็บภาษีสินค้าเกษตรในรูปผลผลิตที่สูงขึ้น  สถานการณ์ที่เลวลงเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการวิกฤติการทางเศรษฐกิจในเอเชีย แต่สาเหตุที่สำคัญคือ การบริหารเศรษฐกิจที่ผิดพลาดของรัฐบาลและสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ดีขึ้น  ซึ่งลดความมั่นใจของการลงทุนจากต่างชาติ  อีกทั้งยังเป็นต้นเหตุของการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศตะวันตก
                   6.  การค้าระหว่างไทยกับพม่ามีทั้งรูปแบบการค้าปกติและการค้าชายแดน  โดยฝ่ายไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด  และมูลค่าการค้ามีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ดีในปี 2544 ไทยเสียเปรียบดุลการค้าต่อพม่าเนื่องจากการชำระค่าก๊าซธรรมชาติที่ไทยได้ซื้อจากพม่า ไทยกับพม่ามีความตกลงการค้าระหว่างกัน 3 ฉบับ ได้แก่  ความตกลงทางการค้าไทย-พม่า (ลงนามเมื่อ 12 เม.ย. 2532 ที่กรุงย่างกุ้ง)  บันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-พม่า (ลงนามเมื่อ 2 ก.พ. 2533 ที่กรุงเทพฯ) และความตกลงการค้าชายแดน (ลงนามเมื่อ 17 มี.ค. 2539 ที่กรุงย่างกุ้ง)
                   7.  การลงทุนของไทยในพม่า  มีมูลค่าการลงทุนอยู่เป็นลำดับสามรองจากสิงค์โปร์และอังกฤษ ส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการผลิต รองลงมาคือ ธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว การประมง และเหมืองแร่
                   8.  การที่ระบบเศรษฐกิจของพม่า เป็นระบบที่ควบคุมโดยรัฐบาลอย่างเข้มงวด กอปรกับการที่รัฐบาลพม่ามักเชื่อมโยงปัญหาทางการเมืองภายในพม่ากับการดำเนินความสัมพันธ์ด้านอื่น ๆ รวมทั้งความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับพม่ามักได้รับผลกระทบ อาทิ ความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนโดยไม่คำนึงผลกระทบและความตกลงที่มีอยู่ การปิดชายแดนและการยกเลิกสัมปทานประมง ซึ่งไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่นัก
ธุรกิจประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะที่มีพรมแดนติดกับพม่า อาทิ จีน ก็ประสบปัญหาในลักษณะเช่นนี้ด้วย
นโยบายการเมืองของสหภาพพม่า
                   1.  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 สภาสันติภาพและการพัฒนารัฐสหภาพพม่า (State Peace and Development Council-SPDC)  จะเป็นหนทางสำคัญในการคลี่คลายปัญหาขัดแย้งทางการเมืองภายในพม่า  ทั้งสองฝ่ายปฏิเสธที่จะเปิดเผยสาระและรายละเอียดของการหารือ  โดยอ้างว่าได้ตกลงที่จะรักษาเรื่องดังกล่าวเป็นความลับ  อย่างไรก็ดี การที่การหารือดังกล่าวได้ดำเนินมา 1 ปี  โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถอนตัวหรือล้มเลิกกลางคัน  รวมทั้งยังรักษาคำมั่นที่จะรักษาความลับของการหารือระหว่างกันนั้นไว้  ย่อมบ่งชี้ว่าทั้งสองฝ่ายพอใจกับการหารือและเห็นประโยชน์ที่จะหารือกันต่อไป
                   2.  รัฐบาลพม่าได้ทยอยปล่อยนักโทษการเมืองเป็นระยะ ๆ รวมประมาณ 200 คนในจำนวนนี้รวมผู้นำสำคัญของพรรค NLD ด้วย  อีกทั้งยังให้พรรค NLD ดำเนินกิจกรรมอย่างจำกัดได้ รวมทั้งการทำการของสาขาพรรคในเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะในบริเวณรอบกรุงย่างกุ้ง
                   3.  พัฒนาการเชิงบวกต่าง ๆ ในพม่า มีผลทำให้ประเทศในกลุ่มตะวันตกบางประเทศ เช่น สหภาพยุโรปและออสเตรเลีย  เริ่มปรับท่าทีต่อพม่าในขณะที่สหรัฐฯ ยังคงท่าทีเดิมต่อไป  โดยเฉพาะในประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนและการเรียกร้องให้มีการพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริงในประเทศ
                   4.  ไทยและพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนทางบกและทะเลติดต่อกันยาวรวม 2,400 กม.  ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยในแง่ต่าง ๆ ทั้งระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เงื่อนไขและทัศนคติทางการเมืองที่ต่างกัน  ปัญหาการเมืองภายในพม่าและชนกลุ่มน้อยตามแนวชาวแดน  ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันอันเป็นผลมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์  รวมถึงบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ แล้วความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าจึงเป็นเสมือนภาพที่สะท้อนความขัดแย้งอันเป็นผลพวงจากประเด็นปัญหาต่าง ๆ ข้างต้นที่สามารถปะทุขึ้นเป็นชนวนของความบาดหมางระหว่างกันได้ตลอดเวลาในห้วงที่ผ่านมา  การปรับเปลี่ยนทัศนคติในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลไทยชุดต่าง ๆ ส่งผลให้รูปแบบและน้ำหนัก  รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินความสัมพันธ์กับพม่ามีความแตกต่างกันไป
                   5.  ความบาดหมางในความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง  นับตั้งแต่เหตุการณ์ยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าในปี 2542  จนกระทั่งถึงการปะทะกันตามแนวชายแดนและการทำสงครามจิตวิทยาโจมตีซึ่งกันและกันอย่างรุนแรงในห้วงต้นปี 2544  ส่งผลให้บรรยากาศความสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในสภาวะตึงเครียด  และตกต่ำถึงขีดสุดเมื่อรัฐบาลพม่าตีพิมพ์บทความจาบจ้วงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย  ซึ่งพัฒนาการความขัดแย้งดังกล่าวได้ก่อให้เกิดกระแสชาตินิยมและความรู้สึกต่อต้านพม่าอย่างกว้างขวางในหมู่สาธารณชนไทย
                   6.  การเดินทางเยือนพม่าของนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนมิถุนายน 2544 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่นำไปสู่การรื้อฟื้นการดำเนินความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ระหว่างไทยกับพม่า  การเยือนดังกล่าวเปรียบเสมือนการไขประตูไปสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาที่คั่งค้างรวมทั้งการผลักดันให้เกิดความร่วมมือในประเด็นปัญหาเร่งด่วนระหว่างกัน  โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย  รวมทั้งปัญหาผู้หลบหนีภัยการสู้รบ  นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล้วนส่งผลให้บรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าโดยรวมกลับคืนสู่สภาวะปรกติอีกครั้ง  โดยในช่วงที่ผ่านมามีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงหลายครั้ง  ได้แก่ นายกรัฐมนตรีเยือนพม่า (19-20 มิถุนายน 2544)  พลโท ขิ่น ยุ้น เยือนไทย (3-5 กันยายน 2544)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนพม่า (1-2   พฤษภาคม 2544)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าเยือนไทย (22-23  มิถุนายน  2544)  และการพบปะระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกับพลโท ขิ่น ยุ้น ที่เมืองท่าขี้เหล็กและอำเภอแม่สาย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2544
                   7.  โดยภาพรวมพม่ามีท่าทีตอบสนองการดำเนินนโยบายของไทยมากขึ้น  โดยเฉพาะในประเด็นที่กำลังส่งผลกระทบในทางลบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของพม่าเอง  อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์ ฯลฯ  อย่างไรก็ดี เช่นเดียวกับประเทศเพื่อบ้านอื่นที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจด้อยกว่าไทย  พม่ายังคงมีความหวาดระแวงต่อการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของไทยอยู่  โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งนโยบายส่งเสริมการค้าการลงทุนของไทย  นอกจากนี้ พม่ายังคงปกป้องความเปราะบางของสถาบันการเมืองของตนจากแนวคิดเสรีนิยมจากไทย  พม่ามีท่าทีปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงต่อบทบาทของไทยใน
กระบวนการพัฒนาการเมืองภายในของพม่าไม่ว่าจะภายใต้บริบทใด
นโยบายด้านสังคมและวัฒนธรรมของสหภาพพม่า
                   1.  การที่รัฐบาลพม่าทุ่มเทงบประมาณส่วนใหญ่ไปในด้านการทหาร  ได้ส่งผลกระทบต่องบประมาณด้านการศึกษาและสาธารณสุข  รัฐบาลพม่าไม่สามารถจัดการศึกษาระดับปฐมที่เพียงพอและมีคุณภาพให้แก่ประชาชน  นอกจากนี้ ที่ผ่านมายังได้ปิดมหาวิทยาลัยเป็นระยะเวลานาน (เพราะเกรงนักศึกษาจะก่อความวุ่นวาย)  ซึ่งทำให้การพัฒนาการศึกษาระดับสูงและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพม่าหยุดชะงักมาเป็นเวลานาน  สำหรับในด้านสาธารณสุขพม่าประสบการแพร่ขยายของโรคติดต่อต่าง ๆ อาทิ มาลาเรีย วัณโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HIV/AIDS รายงานล่าสุดขององค์การอนามัยโลกได้ประเมินคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขของพม่าอยู่ในอันดับที่ 190 จากทั้งหมด 191 ประเทศ
                   2.  ไทยและพม่าได้ลงนามความตกลงทางวัฒนธรรมไทย พม่า  เมื่อวันที่ 24  สิงหาคม  2542  โดยกำหนดให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งคณะนาฏศิลป์ของทั้งสองฝ่าย
และให้ความร่วมมือในการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานและโบราณวัตถุในพม่า
การวิเคราะห์ความต้องการของตลาดพม่าในปัจจุบัน 
                   จากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรี  และการเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในพม่า  อุตสาหกรรมที่รัฐบาลให้การส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเภสัชภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเครื่องจักร เครื่องหนัง อุปกรณ์และเครื่องมือสื่อสาร  การผลิตของใช้ในครัวเรือน เป็นต้น  ทำให้ความต้องการของตลาดพม่าส่วนใหญ่ จะเป็นสินค้าที่ใช้เพื่ออุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้แก่ เครื่องจักรที่ไม่ใช่ไฟฟ้าและยานพาหนะ, โลหะสามัญและผลิตภัณฑ์, เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า, กระดาษ, น้ำมันพืช, เภสัช
ภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์ยาง, เครื่องเทศ, ซีเมนต์และเคมีภัณฑ์
การวิเคราะห์ความต้องการของตลาดพม่าในอนาคต
                   ความต้องการสินค้าของตลาดพม่าในอนาคตยังคงเป็นสินค้าในหมวดที่ต้องการอยู่ในปัจจุบัน  เพราะเป็นสินค้าที่จำเป็นในการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ  ดังนี้
                   1.  สินค้าประเภททุน  ยังเป็นที่ต้องการอย่างมากของตลาดพม่า  เนื่องจากประเทศพม่ายังต้องการการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศอยู่หลายโครงการ  ทั้งด้านคมนาคมขนส่ง และการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการค้าจากกลุ่มประเทศเอเชีย
                   2.  สินค้าอุปโภคบริโภค  ยังมีแนวโน้มต้องการเพิ่มขึ้น  เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในพม่า ยังเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ทำให้ปริมาณการผลิตที่ได้ในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ
                   3.  วัตถุดิบและอะไหล่เครื่องจักร  พม่าต้องการส่งเสริมให้มีการลงทุนในพม่าเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ทำให้ต้องนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมและอะไหล่เครื่องจักรเป็น
จำนวนมาก


สรุปปัญหาและอุปสรรคของประเทศไทยในการค้าทวิภาคี
                   1.  พม่ากำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นการจำกัดปริมาณนำเข้าเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้า ดังนี้
                          1.1  กำหนดให้การนำเข้าสินค้าต้องเป็นเงินที่ได้จากการส่งออกเท่านั้น
                          1.2  กำหนดสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจำเป็น  ซึ่งได้แก่  เครื่องจักร วัสดุก่อสร้าง วัสดุที่ใช้ในการเกษตร ยานยนต์และอุปกรณ์การขนส่ง ยาและอุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์การสื่อสาร วัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องเขียน อุปกรณ์การจ่ายไฟฟ้า ร้อยละ 80 และสินค้าอื่น ๆ นอกจากสินค้าจำเป็นร้อยละ 20 ของปริมาณนำเข้า  ทั้งนี้ ผู้นำเข้าจะต้องนำเข้าสินค้าจำเป็นให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าสินค้าอื่น ๆ ได้
                          1.3  ห้ามนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค 15 รายการ  ได้แก่  ผงชูรส เครื่องดื่ม (Soft Drink) ขนมปังกรอบ อาหารและผลไม้กระป๋อง เส้นหมี่และบะหมี่สำเร็จรูป เหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เบียร์ บุหรี่ ผลไม้สด หมากฝรั่ง ขนมเค้ก ขนมเวเฟอร์ ช็อคโกแล็ต ผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับใช้ในครัวเรือน
                   2.  เมื่อวันที่ 24  พฤศจิกายน  2542  พม่าประกาศยกเลิกสัมปทานการทำประมงในน่านน้ำพม่าแก่เรือประมงไทย  โดยให้เหตุผลว่า พม่ากำลังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณสัตว์น้ำและจำนวนเรือ เพื่อใช้ในการวางแผนการประมงในน่านน้ำพม่า  อย่างไรก็ตาม พม่าเปิดโอกาสให้ไทยทำประมงได้หากเป็นการร่วมลงทุนกับพม่า
                   3.  ความตกลงการค้าชายแดนยังไม่มีผลบังคับใช้  ส่งผลให้ความตกลงด้านการธนาคารไม่มีผลทางปฏิบัติ  ทำให้การค้าชายแดนยังไม่ผ่านระบบธนาคาร
                   4.  กฎระเบียบการค้าของพม่าไม่มีความแน่นอนมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย  ก่อให้เกิดความไม่มั่นใจต่อนักธุรกิจ
                   5.  เส้นทางคมนาคมทางบกเชื่อมระหว่างไทยกับพม่า มีสภาพชำรุดทรุดโทรมเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าระหว่างทั้งสองประเทศ
                   6.  ปัญหาการเรียกเก็บเบี้ยใบ้รายทางเป็นจำนวนมากจากรถบรรทุกสินค้าที่ขนส่งสินค้าจากชายแดน เข้าไปยังกรุงย่างกุ้งทำให้สินค้ามีต้นทุนสูง
                   7.  ธนาคารพาณิชย์ในพม่าผูกขาดโดยรัฐบาล  ฐานะและระบบของธนาคารไม่เป็นที่ยอมรับของนานาชนิด รวมทั้งระบบการเงินไม่มีเสถียรภาพและอัตราแลกเปลี่ยนของเงินจ๊าด (Kyats) มี 2 อัตรา โดยอัตราแลกเปลี่ยนตลาดสูงกว่าอัตราของทางการมาก
                   8.  ปัญหาการสู้รบระหว่างรัฐบาลพม่ากับชนกลุ่มน้อย ทำให้ไม่มีความปลอดภัยตามแนวชายแดนมีการปิดด่านการค้าชายแดนด้านที่ติดต่อกับไทยบ่อยครั้ง สินค้าไทยไม่สามารถขนส่งเข้าไปยังพม่าได้
                   9.  มีความเสี่ยงต่อการที่พม่าจะถูกคว่ำบาตรทางการค้าจากประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและสหรัฐฯ
                   10. มาตรการห้ามนำเข้าสินค้าทางชายแดน (Border Trade) 28 ชนิด คือ ผงชูรส น้ำหนาวและเครื่องดื่ม ขนมปังกรอบ หมากฝรั่ง ขนมเค้ก ขนมเวเฟอร์ ช็อกโกแล็ต อาหารกระป๋อง (เนื้อสัตว์และผลไม้)  เส้นหมี่และบะหมี่สำเร็จรูป  เหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เบียร์ บุหรี่ ผลไม้สด ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในครัวเรือน สินค้าอื่น ๆ ที่มีกฎหมายห้ามนำเข้า ร่ม แบตเตอรี่แห้ง รองเท้ายาง ยากันยุง ยาจีน รูปวาดทุกชนิด เซรามิก แผ่นอิฐที่ใช้ปูทางเดิน กระสอบป่านและกระสอบพลาสติก ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ผ้าบาติก แบตเตอรี่รถยนต์
                   11. มาตรการห้ามนำเข้าสินค้าทางเรือ (Normal Trade/Oversea Trade) 14 ชนิด คือ ผงชูรส น้ำหนาวและเครื่องดื่ม ขนมปังกรอบ หมากฝรั่ง ขนมเค้ก ขนมเวเฟอร์ ช็อกโกแล็ต อาหารกระป๋อง (เนื้อสัตว์และผลไม้)  เส้นหมี่และบะหมี่สำเร็จรูป  เหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เบียร์ บุหรี่ ผลไม้สด สินค้าอื่น ๆ ที่มีกฎหมายห้ามนำเข้า
                   12. รัฐบาลพม่าห้ามส่งออกสินค้าสำคัญ 32 รายการ ภายใต้ระบบการค้าชายแดน และ 31 รายการ ภายใต้ระบบการค้าปกติ  ได้แก่ ข้าว น้ำตาลทราบ ถั่วลิสงและน้ำมันถั่วลิสง งาและน้ำมันงา Niger Seeds& Oil เมล็ดมาสตาร์ดและน้ำมัน เมล็ดทานตะวันและน้ำมัน กากถั่วทุกชนิด ฝ่ายและผลิตภัณฑ์จากฝ้าย น้ำมันปิโตรเลียม อัญมณี ทองคำ หยก ไข่มุก เพชร ดีบุก ตะกั่ว วุลแฟรม ดีบุกและส่วยผสมของ Scheelite เงิน ทองแดง สังกะสี ถ่านหิน โลหะอื่น ๆ งาช้าง ช้าง ม้า วัว ควายและสัตว์สงวน หนังสัตว์ Particals of Dried Prawn Shell อาวุธยุทโธปกรณ์ วัตถุโบราณ ยางพาพา สำหรับสินค้าที่ห้ามส่งออกภายใต้ระบบการค้าชายแดนเพิ่มไม้สักอีกหนึ่งรายการ การนำเข้าสินค้าดังกล่าวต้องขนส่งทางเรือจากท่าเรือที่ย่างกุ้ง  ซึ่งต้องขนส่งระยะทางไกล
และมีต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้นm
สรุปข้อได้เปรียบของประเทศไทยในการค้าทวิภาคี
                   1.  การชำระค่าสินค้าระหว่างไทยและพม่า  จะเป็นการให้เครดิตซึ่งกันและกัน ซึ่งผู้ส่งออกของไทยมักจะให้เครดิตนานกว่าประเทศคู่แข่ง รวมทั้งการซื้อขายสินค้าระหว่างไทยกับพม่าจะทำกันแบบง่าย ๆ โดยใช้สกุลเงินบาทและเงินจ๊าด
                   2.  สินค้าที่นำเข้าจากชายแดนไทยมีราคาต่ำกว่าคู่แข่งและสินค้าไม่ได้รับความเสียหายในขณะขนส่ง
                   3.  คุณภาพของสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยเป็นที่นิยมของชาวพม่า  เนื่องจากได้รับอิทธิพลของการค้าชายแดนที่มีมาเป็นเวลานาน ทำให้ชาวพม่าแถบชายแดนนิยมบริโภคสินค้าไทยมากกว่าของประเทศคู่แข่ง
                   4.  การบริการขนส่งสินค้าไทย  สามารถจัดส่งได้รวดเร็วและสามารถระบุสถานที่รับสินค้าได้
                   5.  ไทยสามารถค้าขายตามแนวชายแดนไทย-พม่า  ทำให้การกระจายสินค้าเข้าสู่เมืองต่าง ๆ ของพม่าเข้าไปได้ทั่วถึงทุกพื้นที่ในแถบชายแดนไทย-พม่า
                   6.  ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการพัฒนาระบบธนาคาร และฝึกอบรมด้านการจัดระบบเอกสารให้แก่พม่า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ส่งออกของไทยในเรื่องการเปิด L/C

กลยุทธ์การส่งเสริมสินค้าไทยสู่สหภาพพม่า
                   เพื่อให้สินค้าไทยสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดในพม่า พร้อมทั้งขยายฐานการตลาดในพม่าให้มากขึ้น  ดังนั้น กลยุทธ์การตลาดที่ผู้ส่งออกไทยควรพิจารณานำมาใช้ในการศึกษาและขยายตลาดในพม่ามี ดังนี้
                   1.  กลยุทธ์ด้านลักษณะสินค้าและบริการ
                          1.1  กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคควรรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าของไทยให้ดี  เพื่อให้สามารถรักษาตลาดในพม่าไว้ได้
                          1.2  กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรมีการพัฒนารูปแบบให้มีขนาดและลักษณะเหมาะแก่การใช้งาน เพื่อจากสินค้าในกลุ่มนี้พม่าได้นำเข้าจากจีนเป็นจำนวนมาก  และมีหลากหลายรูปแบบซึ่งสินค้าไทยในกลุ่มนี้ควรกำหนดรูปแบบของสินค้าให้สามารถขายในราคาที่แข่งกับจีนได้
                          1.3  กลุ่มสินค้าผ้าผืนไม่ควรเปลี่ยนแปลงการออกแบบและสีสันไปจากเดิมมากนัก  เนื่องจากตลาดพม่าค่อนข้างจะอนุรักษ์นิยมและใช้ผ้าจากไทยมาก  ถ้าหากมีการเปลี่ยนสีหรือแบบจะทำให้คิดว่าเป็นสินค้าจากประเทศอื่น
                          1.4  กลุ่มสินค้าวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม เช่น ยางพารา เหล็กและเหล็กกล้า พลาสติก และเส้นใยประดิษฐ์  ควรรักษาส่วนแบ่งตลาดและขยายตลาด  โดยติดต่อโดยตรงกับโรงงานต่าง ๆในพม่าให้มากขึ้น เนื่องจากพม่ามีการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมาก
                          1.5  เน้นการขนส่งสินค้าของไทยเข้าสู่พม่าทางด้านชายแดนให้มากขึ้น  เพื่อลดต้นทุนในการกระจายสินค้าและประหยัดเวลาในการขนส่งโดยมีจุดการขนส่งที่สำคัญ 2 จุด คือ  ด่านแม่สอด จังหวัดตากและด่านแม่สาย จังหวัดเชียงราย
                   2.  กลยุทธ์ด้านราคา
                          สินค้าระดับกลางถึงระดับสูงควรตั้งราคาให้ใกล้เคียงกับสินค้าจากสิงคโปร์และมาเลเซีย  ส่วนสินค้าที่มีคุณภาพต่ำควรตั้งราคาให้ต่ำ  เพราะหมู่บ้านในแถบชายแดนพม่าส่วนใหญ่ยังมีกำลังซื้อน้อย  และไม่ควรมีการกระจายสินค้าคุณภาพต่ำเหล่านี้เข้าไปในเมืองใหญ่  เนื่องจากจะไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับสินค้าจากจีนได้
                   3.  กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่ายและการกระจายตัวของสินค้า
                          3.1  ผู้ส่งออกของไทยจะต้องเข้าไปร่วมทำการค้ากับผู้นำเข้ารายใหญ่ ๆ ของพม่า  โดยคัดเลือกบริษัทที่มีเครือข่ายในการกระจายสินค้าได้มาก ๆ
                          3.2  เน้นการค้าตามแนวชายแดนไทย-พม่า  เนื่องจากไทยและพม่ามีชายแดนติดต่อกันเป็นแนวยาว  ประกอบกับการคมนาคมขนส่งของพม่าที่ออกไปยังจังหวัดต่าง ๆ ยังไม่สะดอก  ดังนั้น ชาวพม่าจะอาศัยซื้อสินค้าจากชายแดนไทยเป็นหลัก
                          3.3  จากการที่พม่ามีชายแดนติดประเทศเพื่อนบ้าน คือ จีน อินเดียและบังคลาเทศ  อังนั้นควรใช้ผู้นำเข้า-ส่งออกของพม่า เป็นผู้กระจายสินค้าไทยไปสู่ประเทศจีน อินเดียและบังคลาเทศ
                          3.4  ผู้ส่งออกและผู้ผลิตของไทย ควรมีการตั้งสำนักงานตัวแทน หรือตัวแทนจำหน่ายตามแนวชายแดนไทย-พม่า  เพื่อบริการการขายที่รวดเร็วให้กับพ่อค้าชายแดนของพม่า และเพื่อการจัดแสดงสินค้าให้กับผู้นำเข้าพม่าได้เข้ามาดูตัวอย่างสินค้าใหม่ ๆ ของไทยได้  โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเข้ามายังโรงงานผลิตในกรุงเทพฯ
                          3.5  ผู้ส่งออกที่จะเข้าไปทำการค้า หรือลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ควรเข้าไปสร้างความสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารพม่า  เพราะเป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติในการดำเนินโครงการต่าง ๆ
                   4.  กลยุทธ์ด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์
                          4.1  การโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ ได้แก่ การติดโปสเตอร์ การลงโฆษณาในสมุดหน้าเหลืองของพม่า การโฆษณาทางโทรทัศน์/วิทยุ  ซึ่งชาวพม่าที่อาศัยอยู่ทางด้านชายแดนที่ติดกับประเทศไทย  สามารถรับสื่อเหล่านี้ได้
                          4.2  การทำการส่งเสริมการขายร่วมกับตัวแทนจำหน่ายในพม่า  โดยผู้ส่งออกไทยให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เช่น แจกตัวอย่างสินค้าให้กับลูกค้าทดลองใช้ก่อน รับแลกสินค้าจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าเป็นประจำ หรือซื้อสินค้าในปริมาณมาก การให้ค่าคอมมิชชั่นกับผู้นำเข้าพม่าที่สามารถทำยอดขายได้ตรงตามเป้าหมาย
                          4.3  การติดต่อผ่านสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง เพื่อเป็นผู้ประสานงานในการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยและผู้ส่งออกไทยให้กับผู้นำเข้าพม่าที่สนใจสินค้าไทย
                          4.4  การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าประจำปีของพม่า เช่น งาน Myanmar Building












บรรณานุกรม
ชนงกรณ์  กุณฑลบุตร.  (2548).  การจัดการระหว่างประเทศ.  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐาปนา  ฉีนไพศาล.  (2547).  การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ.  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนุตร์  เอี่ยมอร่าม.  (2546).  การตลาดระหว่างประเทศ.  กรุงเทพฯ: หอการค้าไทย.
สมพงษ์  เฟื่องอารมย์.  (2544).  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ.  กรุงเทพฯ: ปกเกล้า.
ศุภรัตน์ อุปถะ