วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการสอนแบบซิปปา

เทคนิคการสอนแบบซิปปา
CIPPA   MODEL 
              รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (Cippa  Model) หรือรูปแบบการประสานห้าแนวคิด  ได้พัฒนาขึ้นโดย ทิศนา  แขมมณี   รองศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งได้พัฒนารูปแบบจากประสบการณ์ในการสอนมากว่า  30  ปี และพบว่าแนวคิดจำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอดมา  จึงได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาประสานกันเกิดเป็นแบบแผนขึ้น   แนวคิดดังกล่าวได้แก่ แนวคิดการสร้างความรู้  แนวคิดกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ  แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนความรู้ เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนพบว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ครบทุกด้าน  ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย  อารมณ์  สติปัญญาและสังคม  โดยหลักการของโมเดลซิปปา ได้ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในตัวหลักการคือการช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้  ช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด  มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและได้เรียนรู้จากกันและกัน  มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้  ความคิดเห็นและประสบการณ์  ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ   ร่วมกับการผลิตผลงานซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้นักเรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองตามแนวคิด  Constructivism  (ทิศนา  แขมมณี, 2542 ) 
        ความหมายของ  CIPPA  
                C   มาจากคำว่า   Construct   หมายถึง  การสร้างความรู้ตามแนวคิดของ  Constructiviism   กล่าวคือ  เป็นกิจกรรมการเรียนรู้  ช่วยให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง  ทำความเข้าใจ  เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายแก่ตนเอง  และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง  เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา               
                I  มาจากคำว่า   Interaction  หมายถึง  การช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม  กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล  และแหล่งความรู้ที่หลากหลาย  ได้รู้จักกันและกัน  ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้  ความคิดประสบการณ์  แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนทางสังคม                 
             P  มาจากคำว่า   Physical  Participation    หมายถึง  การช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาท  มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย  ให้ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย   โดยการทำกิจกรรมในลักษณะต่างๆ  ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย
                P  มาจากคำว่า   Process   Learning    หมายถึง  การเรียนรู้  กระบวนการ  ต่างๆ ของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี  ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ  ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต                 
                A  มาจากคำว่า   Application   การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน  เป็นการช่วยผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งในสังคม  และชีวิตประจำวัน  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆจากแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของทิศนา  แขมมณี   (2542)  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า     หลักของโมเดลซิปปา (CIPPA  MODEL)  ซึ่งได้รูปแบบการเรียนการสอนซึ่งสามารถประยุกต์ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีขั้นตอนสำคัญดังนี้
                     1.ขั้นทบทวนความรู้เดิม  ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้ของผู้เรียนในเรื่องที่เรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน
                     2. ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่   ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูล  ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่มีจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ  ซี่งครูอาจเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆ  เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้    
                   3. ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่  และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม  ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนเผชิญปัญหา  และทำความเข้าใจกับข้อมูล  ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล  ประสบการณ์ใหม่ๆ  โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง  เช่นใช้กระบวนการคิด  และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปผลความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น   ซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงความรู้เดิม  มีการตรวจสอบความเข้าใจต่อตนเองหรือกลุ่ม  โดยครูใช้สื่อและย้ำมโนมติในการเรียนรู้               
                  4. ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม   ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือ  ในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตนเอง  รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนเองแก่ผู้อื่นและได้รับประโยชน์จากความรู้  ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆกัน               
                 5. ขั้นการสรุปและจัดระเบียบความรู้  ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด  ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่  และจัดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นระบบระเบียบ   เพื่อช่วยให้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย                 
                 6. ขั้นการแสดงผลงาน   ขั้นนี้เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้แสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้  เป็นการช่วยให้ผู้เรียนตอกย้ำ หรือตรวจสอบ  เพื่อช่วยให้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย               
                7. ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้   ขั้นนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้  ความเข้าใจของตนเองไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความ

เอกสารอ้างอิง
ทิศนา  แขมมณี. (2542). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพ ฯไทยวัฒนาพาณิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น