วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
1.หลักสูตรสถานศึกษา ควรพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการเรียนที่สำคัญๆ มีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลมีโอกาสใช้ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีสื่อสาร หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น    สร้างความมั่นใจและให้กำลังใจในการเรียนรู้ และเป็นบุคคลที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา                   
   2. หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรมสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อตัวบุคคลและสังคม สถานศึกษาต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียนมีความพร้อมในการบริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูลและเป็นอิสระเข้าใจในความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมโดยรวม

บทบาทของหลักสูตรสถานศึกษามีหลายประการคือ
1.       เป็นข้อกำหนดที่ทุกคนในสถานศึกษาต้องปฏิบัติตามเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และพัฒนาให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของสถานศึกษาและท้องถิ่น
2.       เป็นเอกสารที่บุคคลภายนอกหรือหน่วยงานต่างๆ มีไว้ใช้ประโยชน์ในกรณีที่ต้องการศึกษาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
3.       เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อประเมินให้สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติจริงของสถานศึกษา

ตัวชี้วัดสภาพความสำเร็จของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
ภารกิจที่ 1 การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
1.       สร้างความตระหนักให้แก่บุคคล
2.       พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3.       คณะกรรมการและคณะอนุกรรมของสถานศึกษาตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาพื้นฐาน
4.       จัดทำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา
5.       จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
6.       เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและขอความร่วมมือ

ภารกิจที่ 2 จัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
1.       มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
2.       มีกระบวนการการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3.       มีวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายการจัดการศึกษา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
4.       มีโครงสร้างหลักสูตร
5.       มีคำอธิบายรายวิชาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้งพื้นฐานและเพิ่มเติม
6.       มีหน่วยการเรียนรู้
7.       มีแผนการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ภารกิจที่ 3 กำหนดแผนบริหารหลักสูตรสถานศึกษา
1.       การบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2.       การบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3.       การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ภารกิจที่ 4 การดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
1.       มีการประเมินคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบ
2.       จัดให้มีการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาโดยองค์กรภายนอก
3.       สถานศึกษามีการรายงานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อชุมชนเป็นประจำ (ปี/ภาค)

ภารกิจที่ 5 การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล
1.       มีคณะกรรมการนิเทศภายในสถานศึกษา
2.       มีแผนงาน/โครงการนิเทศ ติดตาม กำกับ ในสถานศึกษา
3.       มีเอกสารหลักฐานการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรที่เป็นปัจจุบัน
4.       มีรายงานการนิเทศปรากฏเป็นหลักฐาน
5.       มีระบบกำกับ ติดตามและประเมิน

ภารกิจที่ 6 สรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
1.       มีการรายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและชุมชนเป็นประจำ
2.       มีการประเมินผลการใช้หลัดสูตร

ภารกิจที่ 7 ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรและหลักสูตรสถานศึกษา
1.       นำข้อมูลและปัญหาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2.       จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจและเป้าหมายรวมทั้งยุทธศาสตร์การพัฒนาในปีต่อไป

กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
1.       การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2.       การจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
3.       การจัดทำสาระของหลักสูตร
4.       การออกแบบการเรียนรู้
5.       การออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
6.       การกำหนดรูปแบบ วิธีและเกณฑ์การตัดสิน การวัดและประเมินผลและเอกสารหลักฐานการศึกษา
7.       การพัฒนาระบบการส่งเสริมสนับสนุน
8.       การเรียบเรียงเป็นหลักสูตรสถานศึกษา

แนวทางการตรวจสอบหลักสูตรสถานศึกษา มีดังนี้
1.       การตรวจสอบวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย
2.       การตรวจสอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3.       การตรวจสอบโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษา
4.       การตรวจรายวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
5.       การตรวจสอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
6.       การตรวจสอบการจัดการเรียนรู้และส่งเสริมการเรียนรู้
7.       การตรวจการวัดและการประเมินผล
8.       การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
9.       การตรวจสอบความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน

บทบาทผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
1.      ผู้บริหารสถานศึกษา
คุณสมบัติของผู้บริหารสถานศึกษา
  • มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
  • มีความมุ่งมั่นในการจัดการศึกษา
  • เป็นผู้มีความสามารถในการสร้างความร่วมมือ
บทบาท/หน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • จัดให้มีแผนพัฒนาสถานศึกษา
  • เป็นผู้นำในการจัดทำหลักสูตร
  • จัดให้มีการประชาสัมพันธ์หลัดสูตรสถานศึกษา
  • สนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
  • จัดให้มีการนิเทศภายใน
  • ให้มีการประเมินการนำหลักสูตรไปใช้
2.ครูผู้สอน
บทบาท/หน้าที่ของครูผู้สอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • วางแผนสร้างหน่วยการเรียนรู้
  • จัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นเรียนสำคัญที่สุด
  • จัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้เกิดการเรียนรู้
  • พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้
  • เป็นแบบอย่างที่ดี
  • จัดทำวิจัยในชั้นเรียน
  • จัดทำข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล
3.ผู้เรียน
บทบาท/หน้าที่ของผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • มีส่วนร่วมในการวางแผนจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครองและครู
  • มีความรับผิดชอบใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
  • ปฏิบัติเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
  • มีการประเมินตนเอง
4.ผู้ปกครอง
บทบาท/หน้าที่ของผู้ปกครองตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • กำหนดแผนการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกับครูและผู้เรียน
  • มีส่วนร่วมในการกำหนดสาระของหลักสูตร
  • ส่งเสริมกิจกรรมของสถานศึกษา
  • จัดบรรยายในบ้านให้เอื้อการเรียนรู้
5.ประชาชน
บทบาท/หน้าที่ของประชาชนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • มีส่วนร่วมกำหนดสาระของหลักสูตรและแผนพัฒนาการศึกษา
  • สนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา
  • มีส่วนร่วมในการประเมินผล
6.ชุมชน
บทบาท/หน้าที่ของชุมชนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา
  • เป็นศูนย์การเรียนรู้
  • ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของสถานศึกษา
  • มีส่วนร่วมในการประเมิน
  • เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษา
7.คณะกรรมการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา
บทบาท/หน้าที่ของคณะกรรมการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์มุ่งให้เกิดในตัวผู้เรียน
  • จัดระบบและเครื่องเมื่อการประเมินด้านคุณลักษณะ
  • เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุง
8.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
บทบาท/หน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาของสถานศึกษา
  • ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา
  • สนับสนุนส่งเสริมให้การบริหารด้านวิชาการของสถานศึกษา
  • เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
9.คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานสถานศึกษา
บทบาท/หน้าที่ของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษา
  • วางแผนการดำเนินงานวิชาการ
  • จัดทำคู่มือการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษา
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร
  • ประสานความร่วมมือจากบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ
  • ติดตามผลการเรียนของนักเรียนรายบุคคล ระดับชั้น ระดับช่วง และระดับกลุ่มวิชา
กระบวนการนิเทศ
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาตัวชี้วัดสภาพความสำเร็จของการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ขั้นตอนที่ 2 สำรวจข้อมูลพื้นฐาน / สภาพการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา
1.       สร้างเครื่องมือสำรวจสภาพการดำเนินการ บริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา
2.       ดำเนินการสำรวจสภาพการดำเนินการบริหารจัดการสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา
3.       บันทึกผลการสำรวจสภาพการดำเนินของสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 3 สรุปสภาพการดำเนินงานของสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 4 การวางแผนนิเทศ
ขั้นตอนที่ 5 การนิเทศพัฒนาคุณภาพการดำเนินการบริหารจัดการสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 6 ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 7 สรุปผลการประเมิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น